การทำงานที่ถูกต้องของระบบเบรกจะขึ้นอยู่กับแรงบิดขันแน่นที่ล้อโดยตรง
ความสำคัญของแรงบิดขันแน่นของล้อที่ถูกต้องมักเป็นประเด็นที่ถูกมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเปลี่ยนยาง ล้อที่มีการยึดไม่แน่นหนา โดยมีการขันแน่นน็อตและสลักเกลียวที่ไม่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนที่พวงมาลับขณะเบรก และอาจทำให้ระบบเบรกโดยทั่วไปทำงานผิดพลาดได้
นอกจากนี้ยังอาจเกิดผลลัพธ์ที่ร้ายแรงด้านความปลอดภัยทั้งสำหรับตัวรถเองและผู้โดยสาร
การขันแน่นที่มากหรือน้อยเกินไปที่สลักเกลียวล้ออาจทำให้เกิด
ผลกระทบที่ร้ายแรงเกินกว่าจะคาดคิด น็อตและสลักเกลียวที่ขันแน่นเกินไปอาจทำให้เกิดการผิดรูป ยืดตัวหรือแตกเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะขับขี่ผ่านหลุมหรือเนินสะดุด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีข้อพิสูจน์กันแล้วเกี่ยวกับการใช้ปืนลมและปืนไฟฟ้าแบบเต็มกำลังที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเกลียวขณะติดตั้งและทำให้สลักเกลียวล้อทำงานผิดพลาด
ในบางกรณี ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ดุมล้อก็อาจได้รับความเสียหายไปด้วย
เนื่องจากสลักเกลียวล้อถูกขันกดเข้าไปกับตัววัสดุด้วย สาเหตุของความเสียหายก็เนื่องมาจาก
ขั้นตอนการขันแน่นล้อและดุมล้อที่ไม่ถูกต้อง และเป็นกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าที่หลายคนคิด
ปัญหาการติดตั้งล้อที่ไม่ถูกต้องนี้เกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากพัฒนาการของระบบยานยนต์
ขนาดของรถที่เพิ่มขึ้น ทั้งความสูงและขนาดล้อเอง บวกกับดุมล้อที่เล็กลงล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ล้อ-จานเบรก-ดุมล้อในรถรุ่นใหม่ ๆ ได้รับปัจจัยกดดันมากขึ้นจากแรงที่กระทำที่มากกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์เมื่อ 20 - 25 ปีก่อน
การขันแน่นน็อตล้อที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดระยะห่างเล็ก ๆ ระหว่างดุมล้อ-เบรกและชุดจานเบรก-ล้อทำให้เกิดปัญหาต่อไปนี้ขึ้น
เนื่องจากจานเบรกจะถูกกดสลับกันที่บริเวณแผ่นเบรก และบ่อยขึ้นหลังจากการเบรกครั้งแรก แผ่นเบรกจะปรับตำแหน่งของตัวเองไปตามจานเบรก ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้น
หน้าสัมผัสที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ (สังเกตได้โดยลองหมุนล้อด้วยมือ) จะเกิดความร้อนมากเป็นพิเศษในบางจุดของจานเบรก ขณะทำการเบรก ผู้ขับขี่จะสัมผัสได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากพวงมาลับ ทำให้มีการเสียดทานที่ผิดไปจากปกติระหว่างจานเบรกและแผ่นเบรกเนื่องจากอุณหภูมิที่ไม่สม่ำเสมอกัน คุณสามารถสังเกตปัญหานี้ได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะกับ “จานเบรกที่ผิดรูปไปแล้ว” ในกรณีหลังนี้ ขณะเกิดปัญหาขึ้น พวงมาลัยจะสั่งสะเทือนแต่แป้นเบรกจะไม่สั่นแต่อย่างใด
ตลอดอายุการใช้งานของจานเบรกและแผ่นเบรก จานเบรกจะมีการเปลี่ยนรูป และทำให้แผ่นเบรกเกิดการสึกหรอที่ผิดไปจากปกติ เนื่องจากการเปลี่ยนรูปของจานเบรกที่เกิดขึ้นจากจุดสัมผัสที่เปลี่ยนไปมาอย่างต่อเนื่อง แป้นเบรกจะเริ่มสั่นตามในที่สุด
ขั้นตอนการขันแน่นที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
การขันแน่นล้อจะต้องใช้ประแจแรงบิดและขันแน่นตามแรงบิดขันแน่นที่กำหนด พิจารณาตามขนาด น็อตและวัสดุที่ใช้ทำสลักเกลียว และประเภทของเกลียว แรงบิดขันแน่นโดยปกติจะมีแจ้งไว้ในคู่มือการให้บริการรถยนต์
คุณสามารถใช้ประแจพัลส์โดยปรับตั้งค่าให้ต่ำที่สุด (แรงบิดขันแน่นของเครื่องมือจะต้องไม่เกินแรงบิดที่กำหนด) หรือประแจที่มีฟังก์ชั่นจำกัดแรงบิดเพื่อให้แน่ใจว่ามีการขันแน่นไม่เกินแรงบิดที่กำหนด
การใช้แรงบิดขันแน่นที่ต่ำกว่าที่ระบุจะทำให้สลักเกลียวล้อคลายตัว ในขณะที่แรงบิดที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการผิดรูปของจานเบรกหรือการแตกเสียหาย และจำทำให้ถอดสลักเกลียวล้อได้ลำบากหากมีการทะลุเกิดขึ้นที่เนื้อวัสดุ
เพื่อให้มีการสัมผัสที่เหมาะสมระหว่างล้อ จานเบรกและดุมล้อ แนะนำให้กำหนดลำดับการขันแน่น “รูปดาว” โดยเริ่มจากขันแน่นน็อตตัวแรกแล้วไปที่น็อตตรงกันข้าม (แทนที่จะเป็นตัวถัดไป)
ตัวอย่างการขันแน่นแบบรูปดาวโดยใช้สลักเกลียว 4, 5 หรือ 6 ตัว
ล้อที่ติดตั้งได้ถูกต้อง โดยมีการขันแน่นน็อตตามแรงบิดที่กำหนดโดยผู้ผลิตรถยนต์ และล้อได้ศูนย์กับดุมล้อ